โรคผิวกระดูกอ่อนลูกสะบ้าเข่าอักเสบ (Patellofemoral pain syndrome : PFPS) หรือ Runner’s Knee คือ อาการปวดเข่าบริเวณใต้ลูกสะบ้าหรือบริเวณเข่าทางด้านหน้า ซึ่งเกิดจากการที่ลูกสะบ้า (Patella) เคลื่อนออกจากร่องของกระดูกต้นขา และเกิดการเสียดสีของลูกสะบ้ากับกระดูกต้นขา (Femur) จนทำให้เกิดอาการปวดที่เข่าได้ เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดข้อเข่าที่พบได้ทั่วไปในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการวิ่ง อาการปวดดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันและการเล่นกีฬา และPFPS ยังมีความสัมพันธ์กับการอ่อนแรงและการตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ต้นขาและน่องร่วมด้วย
สาเหตุ
1.โครงสร้างของเข่าที่เสื่อมหรือผิดไป (Malalignment) โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของสะบ้าในท่างอเข่า เช่น ขณะวิ่ง
2.อุบัติเหตุบริเวณเข่า
3.เดินหรือวิ่งมากเกินไปจนทำให้กล้ามเนื้อตึงตัวผิดปกติ
4.ปัญหาที่ข้อเท้า เช่น ข้อเท้าหลวม ไม่มั่นคง ส่งผลต่อกล้ามเนื้อเข่าและน่อง จนเกิดแรงดึงและแรงกดบริเวณข้อเข่า
5.รองเท้าที่สวมใส่ไม่เหมาะสม
6.กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าอ่อนแรง (Quadriceps)
กล้ามเนื้อสะโพกอ่อนแรง (Gluteal region)
กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังตึงตัว (Hamstrings)
เอ็นร้อยหวายตึงตัว (TA tendon)
กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าตึงตัว (Quadriceps)
อาการ
1.ปวดในข้อเข่าหรือรอบๆเข่าขณะเคลื่อนไหว
2.ปวดเมื่อนั่งนานๆ บางครั้งรู้สึกอ่อนแรง เข่าไม่มั่นคง
3.รู้สึกมีการเสียดสี มีเสียงในเข่าหรือรู้สึกเข่าบิดเบียด
4.มีจุดกดเจ็บรอบๆสะบ้า
5.เจ็บหน้าเข่าเวลาขึ้นลงบันได นั่งยอง นั่งขัดสมาธิ
ปัจจัยเสี่ยง
1.อายุ : ช่วงอายุประมาณ 20-40 ปี
2.กล้ามเนื้อไม่สมดุล
3.เพศ : หญิง>ชาย เนื่องจากมีมวลกล้ามเนื้อน้อยกว่า ซึ่งอาจทำให้เกิดการวางตำแหน่งเข่าที่ผิดปกติ
4.ภาวะเท้าแบน/เท้าสูง : เนื่องจากส่วนโค้งของเท้าผิดปกติ ทำให้ขาท่อนล่างหมุนเข้าด้านในส่งผลให้แรงที่ส่งผ่านหัวเข่าเกิดการตกของแรงที่ด้านในของเข่าขณะที่เดินหรือวิ่ง
5.มีประวัติการบาดเจ็บบริเวณลูกสะบ้ามาก่อน เช่น การเคลื่อนหลุดของสะบ้า อุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า
6.การออกกำลังกายที่หนักมากเกินไป
7.โรคข้ออักเสบ เช่น เกาต์ รูมาตอยด์
การรักษาทางกายภาพบำบัด
1.High power laser เพื่อลดการอักเสบของกระดูกอ่อนผิวข้อลูกสะบ้า
2.TR therapy เพื่อลดความตึงตัวของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่า
3.Shock wave therapy เพื่อคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่า
4.Mobilization เทคนิคทางกายภาพบำบัด
5.การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อให้เหมาะสมกับปัญหาแต่ละบุคคล