อุ้งเท้าของเราปกติจะมีส่วนเว้าโค้งที่พอเหมาะพอดี ถูกออกแบบมาให้มีความมั่นคงในการลงน้ำหนัก แต่ภาวะเท้าแบน (Overpronation)  หรือภาวะเท้าล้มเอียงด้านในจะล้มและเอียงมากในขณะยืนเดินซึ่งเกิดจากอุ้งเท้าแบนแนบลงมาร่วมกับบิดเข้า เมื่อยืนอุ้งเท้าจะแนบและแบนราบเรียบไปกับพื้นและข้อเท้าบิดล้มเอียงตามส่งผลให้นิ้ว โป้งเท้าและข้อเท้าด้านใน รับน้ำหนักมากเกินไปในการยืน เดิน ส่งผลให้  เอ็นใต้ฝ่าเท้า และเอ็นร้อยหวายได้ หรือนำไปสู่ภาวะรองช้ำได้ง่าย

ซึ่งคนที่มีลักษณะของเท้าแบนหรือเท้าล้ม จะมีความยืดหยุนที่เท้าสูงแต่ความมั่นคงของเท้าต่ำ และยิ่งในนักกีฬาอย่างนักวิ่งหากมีปัญหาเท้าแบนหรือเท้าล้ม เวลาวิ่ง ก็จะทำให้เข่าบิดหมุนเข้าด้านใน ทำให้เกิดอาการปวดเข่าได้ และเมื่อเข่าบิดก็ส่งผลต่อสะโพก และหลังที่สามารถเกิดอาการปวดตตามมาได้เช่นกัน

สาเหตุ มีแนวโน้มเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ได้ เช่น ภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะเอ็นข้อหย่อนที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากครอบครัว จึงอาจป้องกันได้ยาก อย่างไรก็ดีภาวะเท้าแบนสามารถจัดการและป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงได้

ลักษณะอาการ

  • เจ็บอุ้งเท้าและส้นเท้า แม้สวมใส่รองเท้าที่รองรับเท้าได้ดีและนุ่มสบายแล้ว
  • ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น มีการอักเสบบวมแดงตามเส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อเท้า
  • ทรงตัวลำบาก ยืนเขย่งขาไม่ได้ หรือเดินขึ้นลงบันไดลำบาก
  • ไม่สามารถสวมใส่รองเท้าที่เคยใส่ได้ หรือรู้สึกอุ้งเท้าแบนมากยิ่งขึ้น
  • รู้สึกชาฝ่าเท้า หรือเส้นเอ็นนิ้วเท้าอ่อนแรงหรือผิดรูปมากขึ้น
  • ข้อเท้าด้านใน
  • หน้าแข้งด้านใน หรือหัวเข่า

การป้องกันและแนวทางการรักษาทางกายภาพบำบัด :

การออกกำลังกายเท้าเพื่อเพิ่มความมั่นคงของฝ่าเท้าให้การเคลื่อนไหวสมดุลมากขึ้น และการยืดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อน่องคลายตัว และเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

-การเลือกรองเท้าที่เหมาะสมแผ่นรองเท้าสำหรับคนที่เป็นเท้าแบนก็จะช่วยส่งเสริมให้เท้าอยู่แนวปกติมากขึ้นได้

-การทำกายภาพด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น ช็อคเวฟ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเฉพาะจุด คลื่นแม่เหล็ก PMS อัลตราซาวน์ และ เลเซอร์กำลังสูง สามารถช่วยลดอาการปวดจากภาวะนี้