ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง
อาการ
โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกกันติดปากว่า “สโตรก” เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบหลอดเลือดสมอง ที่ส่งผลให้เนื้อสมองบางส่วนหรือทั้งหมดได้รับความเสียหาย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2กลุ่มคือ
- หลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic stroke) คือกลุ่มที่มีการตีบตัน หรือมีการอุดกั้นของหลอดเลือดสมองส่งผลให้เลือดไม่ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อสมองบริเวณที่เส้นเลือดเส้นนั้นพาไปเลี้ยง และเกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อสมอง
- หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) คือกลุ่มที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือดสมอง เมื่อมีเลือดออกในสมองจึงมีการเพิ่มขึ้นของความดันภายในกะโหลกศีรษะ และมีการกดเบียดเนื้อเยื่อสมองบริเวณรอบ ๆ สร้างความเสียหายต่อเนื้อเยื่อสมอง
อาการโดยทั่วไปที่มักพบคือ มีอาการอ่อนแรง ชา ของครึ่งซีกร่างกาย พูดลำบาก สูญเสียการทรงตัว คลื่นไส้ อาเจียน และมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง
การทำกายภาพบำบัดจะเป็นการกระตุ้นให้สมองกลับมาทำงาน ฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง โดยจะมี “Golden period” หรือ “ช่วงทองของการฟื้นฟู” คือช่วง 3-6 เดือนแรกควรรีบ ทำกายภาพบำบัด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการเรียนรู้และจดจำการเคลื่อนไหวใหม่ (Motor relearning) ทั้งการเคลื่อนไหวอย่างละเอียดและอย่างหยาบ ( fine and gross motor function) การทำงานของมือ (hand function) การเดิน (gait pattern) การควบคุมการทำงานของลำตัว (trunk control) การรับความรู้สึก (sensory) และการรับรู้ (cognition) จะค่อยๆดีขึ้น ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับความต่อเนื่องในการทำกายภาพบำบัด
ควรเริ่มฝึกกายภาพบำบัดเมื่อไหร่? หลังเป็นเส้นเลือดสมอง “ตีบ แตก ตัน”
หลายๆคนสงสัยกันนะคะ ควรเริ่มฝึกกายภาพเมื่ีอไหร่ จำเป็นไหมที่ต้องทำ ตอบเลยว่าจำเป็นมากนะคะ เพราะจะเป็นการกระตุ้นการฟื้นตัวและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้มาก ยกเว้นบางกรณีที่เป็นไม่มาก เช่น TIA บางคนแทบจะกลับคืนเองได้ 90 % เลยทีเดียว
แต่โดยมากรอยโรคค่อนข้างมากหรือเป็นในตำแหน่งที่ทำให้บกพร่องทางการเคลื่อนไหว การรับรู้ รู้คิด จึงทำให้มีควา่มจำเป็นที่ต้องได้รับการฝึกทางกายภาพบำบัด
แล้วควรเริ่มเมื่อไหร่???
เริ่มให้เร็วที่สุดเมื่อสัญญาณชีพปกติ ค่อยๆปรับไปตามสภาวะของคนไข้แต่ละราย เริ่มจากปรับความดัน ไขเตียง ฝึกนั่ง Passive เพื่อให้หลายๆอย่างในร่างกายได้ปรับตัว จริงๆคือ เราจะเริ่มทำกายภาพฟื้นฟูกันตั้งแต่เราอยู่โรงพยาบาลแล้วค่ะ ทำมากทำน้อยนักกายภาพก็จะปรับไปตามการตอบสนอง ความเหนื่อย ความล้า ของคนไข้ในแต่ละวัน สักพักคนไข้ก็จะปรับตัวเองได้ แล้วจึงเริ่มฝึกกันอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพราะช่วงเวลาที่ฟื้นตัวดีที่สุดคือ 3 เดือนแรกแต่สมองของเราก็ยังคงฟื้นตัวไปได้อย่างต่อเนื่อง แต่บางการเคลื่อนไหวควรรีบกระตุ้น เพราะถ้านานเกินไปแล้วการฟื้นคืนนั้นอาจจะยากหรือแทบจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงเลยค่ะ
การรักษาทางกายภาพบำบัด
PMS หรือ Peripheral Magnetic Stimulation คือ เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็ก กระตุ้นกล้ามเนื้อในกลุ่มที่อ่อนแรงและคลายกล้ามเนื้อในกลุ่มที่แข็งเกร็ง การรักษาด้วย PMS จะไปกระตุ้นที่เส้นประสาทโดยตรงช่วยฟื้นฟูความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาทด้วยการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของระบบประสาท (Neuroplasticity) ควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด เพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดีที่สุด
หุ่นยนต์มือ (Hand robotic)
อุปกรณ์ฟื้นฟูมือรวมกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่มีความยืดหยุ่นและประสาทวิทยา, มันสามารถช่วยให้ผู้ป่วยต้นแบบนิ้วมือดิ้นและขยาย, ลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อมือ, บรรเทาอาการบวมน้ําและความแข็ง, ส่งเสริมการฟื้นฟูของการบาดเจ็บที่เส้นประสาทสมองผ่านการออกกําลังกาย, ปรับปรุงกิจกรรมมือและเร่งการฟื้นฟูการทํางานของมือ
OmniStand
ระบบสมดุลไดนามิกเพื่อให้การฝึกการทรงตัวและการเดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบป้องกันการตกนี้ให้การแกว่งแบบไดนามิกที่ปรับเปลี่ยนได้เพื่อท้าทายผู้ป่วยในขณะที่ยังคงรองรับอย่างปลอดภัย นักบำบัดสามารถปลดล็อกศักยภาพของผู้ป่วยภายในกรวยแห่งความมั่นคงและไกลกว่านั้น ปรับปรุงผลลัพธ์ของผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มความท้าทายในการบำบัด ระยะเวลา และการทำซ้ำ
สามารถอัพเดตข่าวสารและข้อมูลการรักษาและติดตามโปรโมชั่นดีดีได้ที่
“บทความนี้เป็นการประเมินเบื้องต้น ไม่สามารถนำมาอ้างอิงว่าเป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ แนะนำให้เข้ามาตรวจร่างกายอย่างละเอียดกับนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวด รวมถึงวางแผนการรักษาอย่างตรงจุด ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล”