สาระน่ารู้
บทความนี้เป็นการประเมินเบื้องต้น ไม่สามารถนำมาอ้างอิงว่าเป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์ได้
แนะนำให้เข้ามาตรวจร่างกายอย่างละเอียดกับนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวด รวมถึงวางแผนการรักษาอย่างตรงจุด
(ในทุกขั้นตอนดูแลโดยนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ มีประสบการณ์)
หมายเหตุ นักกายภาพบำบัด จะเป็นผู้ตรวจประเมินอาการและเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับอาการ
ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล”
การเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตคนไข้มาก การฟื้นตัวที่ดีสามารถกลับไปทำงาน ใช้ชีวิตประจำวันได้ก็ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตคนไข้มากเช่นกัน บางรายไม่ใช่แค่คุณภาพชีวิตของคนไข้เท่านั้นแต่เป็นคุณภาพชีวิตของครอบครัวเลย
ไอแคร์ ศูนย์ฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองอุดร ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตคนไข้ได้ เราพยายามอย่างเต็มที่ที่จะพัฒนาการฟื้นฟูให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ทั้งการนำนวัตกรรมมาใช้ และปรับรูปแบบการฝึกให้ดีที่สุดในราคาที่ย่อมเยา
เราเพิ่มพูนทักษะ และความรู้รวมทั้งนวัตกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้การฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดเป็นไปอย่างเร็วที่สุดและดีที่สุด
ทำไมคนไข้โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกต้องทำกายภาพบำบัด???
โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกกันติดปากว่า “สโตรก” เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบหลอดเลือดสมอง ที่ส่งผลให้เนื้อสมองบางส่วนหรือทั้งหมดได้รับความเสียหาย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2กลุ่มคือ
- หลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic stroke) คือกลุ่มที่มีการตีบตัน หรือมีการอุดกั้นของหลอดเลือดสมองส่งผลให้เลือดไม่ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อสมองบริเวณที่เส้นเลือดเส้นนั้นพาไปเลี้ยง และเกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อสมอง
- หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) คือกลุ่มที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือดสมอง เมื่อมีเลือดออกในสมองจึงมีการเพิ่มขึ้นของความดันภายในกะโหลกศีรษะ และมีการกดเบียดเนื้อเยื่อสมองบริเวณรอบ ๆ สร้างความเสียหายต่อเนื้อเยื่อสมอง
อาการโดยทั่วไปที่มักพบคือ มีอาการอ่อนแรง ชา ของครึ่งซีกร่างกาย พูดลำบาก สูญเสียการทรงตัว คลื่นไส้ อาเจียน และมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง
ความรุนแรงของตัวโรค ขึ้นอยู่กับขนาดของรอยโรคว่าเนื้อสมองมีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน และระยะเวลาที่เป็นก่อนได้รับการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งหลังจากได้รับการรักษาทางการแพทย์จนพ้นช่วงวิกฤตแล้ว การทำกายภาพบำบัดจะเป็นการกระตุ้นให้สมองกลับมาทำงาน ฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง โดยจะมี “Golden period” หรือ “ช่วงทองของการฟื้นฟู” คือช่วง 3-6 เดือนแรกควรรีบ ทำกายภาพบำบัด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการเรียนรู้และจดจำการเคลื่อนไหวใหม่ (Motor relearning) ทั้งการเคลื่อนไหวอย่างละเอียดและอย่างหยาบ ( fine and gross motor function) การทำงานของมือ (hand function) การเดิน (gait pattern) การควบคุมการทำงานของลำตัว (trunk control) การรับความรู้สึก (sensory) และการรับรู้ (cognition) จะค่อยๆดีขึ้น ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับความต่อเนื่องในการทำกายภาพบำบัด รวมถึงตำแหน่งของรอยโรค ดังนั้นในช่วง 3-6 เดือนจึงเป็นช่วงเวลาสำคัญในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงปกติ ช่วยเหลือตัวเองได้ และลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคปอดอักเสบ ข้อติด แผลกดทับ เป็นต้น
ควรเริ่มฝึกกายภาพบำบัดเมื่อไหร่? หลังเป็นเส้นเลือดสมอง “ตีบ แตก ตัน”
หลายๆคนสงสัยกันนะคะ ควรเริ่มฝึกกายภาพเมื่ีอไหร่ จำเป็นไหมที่ต้องทำ ตอบเลยว่าจำเป็นมากนะคะ เพราะจะเป็นการกระตุ้นการฟื้นตัวและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้มาก ยกเว้นบางกรณีที่เป็นไม่มาก เช่น TIA บางคนแทบจะกลับคืนเองได้ 90 % เลยทีเดียว
แต่โดยมากรอยโรคค่อนข้างมากหรือเป็นในตำแหน่งที่ทำให้บกพร่องทางการเคลื่อนไหว การรับรู้ รู้คิด จึงทำให้มีควา่มจำเป็นที่ต้องได้รับการฝึกทางกายภาพบำบัด
แล้วควรเริ่มเมื่อไหร่???
เริ่มให้เร็วที่สุดเมื่อสัญญาณชีพปกติ ค่อยๆปรับไปตามสภาวะของคนไข้แต่ละราย เริ่มจากปรับความดัน ไขเตียง ฝึกนั่ง Passive เพื่อให้หลายๆอย่างในร่างกายได้ปรับตัว จริงๆคือ เราจะเริ่มทำกายภาพฟื้นฟูกันตั้งแต่เราอยู่โรงพยาบาลแล้วค่ะ ทำมากทำน้อยนักกายภาพก็จะปรับไปตามการตอบสนอง ความเหนื่อย ความล้า ของคนไข้ในแต่ละวัน สักพักคนไข้ก็จะปรับตัวเองได้ แล้วจึงเริ่มฝึกกันอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพราะช่วงเวลาที่ฟื้นตัวดีที่สุดคือ 3 เดือนแรกแต่สมองของเราก็ยังคงฟื้นตัวไปได้อย่างต่อเนื่อง แต่บางการเคลื่อนไหวควรรีบกระตุ้น เพราะถ้านานเกินไปแล้วการฟื้นคืนนั้นอาจจะยากหรือแทบจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงเลยค่ะ
บริการที่ไอแคร์คลินิกกายภาพบำบัดในกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
PMS หรือ Peripheral Magnetic Stimulation
คือ เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็ก กระตุ้นกล้ามเนื้อในกลุ่มที่อ่อนแรงและคลายกล้ามเนื้อในกลุ่มที่แข็งเกร็ง การรักษาด้วย PMS จะไปกระตุ้นที่เส้นประสาทโดยตรงช่วยฟื้นฟูความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาทด้วยการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของระบบประสาท (Neuroplasticity) ควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด เพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดีที่สุด
คลื่นแม่เหล็ก PMS (Peripheral Magnetic Stimulator) ใช้เพื่อฟื้นฟูในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเรื่องของการเคลื่อนไหว การรับความรู้สึกที่สูญเสียไป สามารถช่วยลดเกร็ง กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ และเพิ่มความแข็งแรง เป็นการกระตุ้นเส้นประสาทส่วนปลายด้วยคลื่นแม่เหล็กทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ระบบประสาท (Neuroplasticity) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต หากใช้ PMS ร่วมกับการฟื้นฟูโดยนักกายภาพบำบัด จะยิ่งช่วยให้การฟื้นฟูเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สามารถอัพเดตข่าวสารและข้อมูลการรักษาและติดตามโปรโมชั่นดีดีได้ที่
หุ่นยนต์มือ (Hand robotic)
อุปกรณ์ฟื้นฟูมือรวมกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่มีความยืดหยุ่นและประสาทวิทยา, มันสามารถช่วยให้ผู้ป่วยต้นแบบนิ้วมือดิ้นและขยาย, ลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อมือ, บรรเทาอาการบวมน้ําและความแข็ง, ส่งเสริมการฟื้นฟูของการบาดเจ็บที่เส้นประสาทสมองผ่านการออกกําลังกาย, ปรับปรุงกิจกรรมมือและเร่งการฟื้นฟูการทํางานของมือ
OmniStand
ระบบสมดุลไดนามิกเพื่อให้การฝึกการทรงตัวและการเดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบป้องกันการตกนี้ให้การแกว่งแบบไดนามิกที่ปรับเปลี่ยนได้เพื่อท้าทายผู้ป่วยในขณะที่ยังคงรองรับอย่างปลอดภัย นักบำบัดสามารถปลดล็อกศักยภาพของผู้ป่วยภายในกรวยแห่งความมั่นคงและไกลกว่านั้น ปรับปรุงผลลัพธ์ของผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มความท้าทายในการบำบัด ระยะเวลา และการทำซ้ำ
ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยมากในผู้ป่วยสโตรกคือ“ข้อเท้าตก ” หรือ Foot drop การฝึกที่ใช้และได้ประโยชน์สำหรับการฝึกควบคุมข้อสะโพกให้ก้าวขาข้างอ่อนแรงมาด้านหน้าให้ตรงโดยไม่เหวี่ยงหรือยักข้อสะโพกและยังช่วยให้กระดกข้อเท้าได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ
เป็นสโตรกข้างขวา เข่าเสื่อมข้างซ้าย ทำไยังไงดี?
โดยปกติแล้วข้างแข็งแรงเราต้องใช้งานเยอะเลยค่ะ ทั้งการลงน้ำหนัก แล้วฝึกความแข็งแรงเพื่อช่วยเรื่องยืนเดินในขณะที่ข้างที่เราเป็น stroke กำลังฟื้นตัว แต่การรักษาเรื่องเข่าเสื่อมหรือปวดเข่าจากเข่าเสื่อมก็ไม่ได้มีแค่วิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเท่านั้นนะคะ ยังมีทางเลือกอื่นๆให้คนไข้ค่ะ เช่น การทานยา การฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า การยิงเลเซอร์ลดปวด แม้แต่การใส่ support ขณะฝึกก็สามารถช่วยได้ค่ะ
ภาวะมือบวมในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เราจะพบได้บ่อยที่ปลายมือปลายเท้าข้างที่อ่อนแรงจากของเหลวที่คั่งค้าง เช่น น้ำเหลือง เนื่องจากการเคลื่อนไหวที่ลดลงทำให้การไหลเวียนต่างๆไม่ดี จึงเกิดการคั่งค้างขึ้นนอกจากนี้การบวมนี้จะขัดขวางการทำกายภาพบำบัดด้วยนะคะ หากเราปล่อยให้บวมไปเรื่อยๆ อาจจะทำให้ข้อต่อยึดติด เคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก หลอดเลือดอุดตัน และเกิดอาการปวดตามมา
วิธีทางกายภาพบำบัดที่ช่วยลดอาการบวม
ออกกำลังกายลดบวม ขยับข้อต่อ เช่น Passive ในกรณีมือและเท้าขยับเองไม่ได้ และ Active กรณีเคลื่อนไหวขยับเองได้
การจัดท่าทางที่ถูก
นวดระบายน้ำเหลือง Lymphatic Drainage Massage
Pneumatic pump เพื่อเร่งระบายของเสีย และป้องกัน Deep Vein Thrombosis
ยิ่งฝึกกายภาพบ่อยๆ ยิ่งเยอะยิ่งดีค่ะ เพราะสมองเราได้เรียนรู้และจดจำการเคลื่อนไหวนั้นซ้ำๆ จากตอนแรกต้องนึกต้องพยายามเยอะ สักพักคนไข้จะสามารถทำได้โดยอัตโนมัติเหมือนเวลาเราเดิน เราก็สามารถก้าวขาได้อัตโนมัติ แต่เยอะแค่ไหนล่ะถึงจะดีมีประสิทธิภาพจริง เยอะในที่นี้คือมากพอที่จะไม่ทำให้กล้ามเนื้อหรือการเคลื่อนไหวที่เราฝึกไม่ล้าจนเกินไป เพราะหากทำจนล้าแล้วทำต่ออีก คนไข้จะเกิดการเคลื่อนไหว หรือการควบคุมที่ผิดไปจากกล้ามเนื้อที่เราต้องการฝึก ง่ายๆคือ จะเอาส่วนอื่นที่ไม่ต้องการมาใช้ เพื่อให้ยังทำการเคลื่อนไหวนั้นได้อยู่ เรียกว่า การเคลื่อนไหวชดเชย
สมมุติให้คนไข้งอศอก 100 ครั้ง ด้วยกล้ามเนื้อA แต่กำลังจริงของ A ทำได้แค่ 80 ครั้งแต่ยังทำต่อ คราวนี้คนไข้จำไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อ A อย่างเต็มที่แบบที่เราต้องการ คนไข้จะทำแบบ A+B+C ทั้งที่เราต้องการแค่ A บางทีก็อาศัยแรงเหวี่ยงบ้างเพื่อให้ครบ
ที่ต้องการคือ งอศอกได้สุดช่วงเท่าที่ทำได้ พยายามควบคุมทิศทาง ความสม่ำเสมอ โดยใช้กล้ามเนื้อ A หากล้าพักหรือไปออกกำลังในส่วนอื่นก่อน แบ่งเป็นเซ็ตๆแล้วทำทำให้ช้า ทำให้ถูก เพราะเมื่อเราทำช้าๆได้แล้ว แบบเร็วๆเดี๋ยวทำได้เองค่ะ
ปัญหาเท้าตก กระดกไม่ขึ้น ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
พบได้บ่อยและมากๆเลยนะคะ กับปัญหาเท้าตก กระดกไม่ขึ้น หากเราปล่อยให้ตกไปตามแรงโน้มถ่วงตามน้ำหนักเท้าที่ถ่วงลงไป เอ็นของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงนั้นก็จะยิ่งยืดยาวออกไป คนไข้ต้องใช้ความพยายามมากขึ้นไปอีกที่จะออกแรงเพื่อกระดกข้อเท้าขึ้น ในบางรายที่มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อนี้ บางทีตอนนอนก็ควรใส่ AFO เพื่อล็อคค้ำไว้ไม่ให้เท้าตกหรือการจัดท่าในการนอนโดยใช้หมอนหรือผ้ากันไว้
หากคนไข้ไปทำกายภาพที่โรงพยาบาลหรือคลินิกนักกายภาพบำบัดจะกระตุ้น ES เพื่อชลอการฝ่อลีบให้ เพราะถ้ากล้ามเนื้อไม่ได้ทำงานนานๆ กล้ามเนื้อนั้นก็จะฝ่อไปในที่สุด และนักกายภาพเองจะพยายามกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ช่วยในการกระดกข้อเท้าขึ้น เรียกว่าขนมาทุกอย่างที่จะช่วยกระตุ้นให้คนไข้ได้ หากพอมีแรงบ้างก็จะเน้นให้กล้ามเนื้อนั้นออกแรงด้วยตนเอง หากไม่มีแรงก็อาจจะใช้เทคนิค เช่น Reinforcement หรือ PNF โดยใช้ส่วนที่มีแรงมาเหนี่ยวนำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้างอ่อนแรง หรือเป็นการฝึกให้คนไข้นึกตาม จดจำการเคลื่อนไหว หรือใช้ Mirror Technique แล้วแต่นักกายภาพที่ดูแลเรา ในบางที่มีนวัตกรรมใหม่ เช่น TMS หรือ PMS โดยมากจะมีในโรงพยาบาลเอกชนหรือในบางคลินิกซึ่งสามารถกระตุ้นเส้นประสาทสั่งการกล้ามเนื้อนั้นๆได้โดยตรง ไม่เสี่ยงทำให้ผิวแสบหรือพองเหมือนการกระตุ้นด้วย ES
ในแต่ละกิจกรรมที่นักกายภาพนำมาฝึก ล้วนมีจุดประสงค์ในการกระตุ้นทั้งนั้น ฉะนั้นคนไข้ควรจะทราบว่าในแต่ละท่าที่กำลังทำ ต้องการกระตุ้นหรือควบคุมการเคลื่อนไหวส่วนใด ทำเพื่ออะไร ไม่ใช่ทำๆไป เพราะจะไม่ได้ประโยชน์สูงสุดตามที่นักกายภาพที่ดูแลเราต้องการ
สามารถอัพเดตข่าวสารและข้อมูลการรักษาและติดตามโปรโมชั่นดีดีได้ที่
“บทความนี้เป็นการประเมินเบื้องต้น ไม่สามารถนำมาอ้างอิงว่าเป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ แนะนำให้เข้ามาตรวจร่างกายอย่างละเอียดกับนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวด รวมถึงวางแผนการรักษาอย่างตรงจุด ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล”
หากคุณมีอาการเหล่านี้สามารถปรึกษาได้ที่ ไอแคร์คลินิกกายภาพบำบัด โทร 081-1231559 หรือ Line:@icareclinic