เลิกเจ็บซ้ำๆกับข้อเท้าแพลง (Ankle sprain)
ลื่นล้ม ก้าวขาผิดจังหวะ ตกส้นสูง หรือเล่นกีฬา สาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดอุบัติเหตุข้อเท้าพลิกได้ อาการหลังจากข้อเท้าพลิก ทำให้มีอาการปวด บวม แดง อุ่นที่บริเวณข้อเท้า บางรายที่เป็นมาก อาจไม่สามารถลงน้ำหนักที่เท้าข้างนั้นได้
สาเหตุ
เกิดจากการบาดเจ็บของเส้นเอ็นยึดข้อต่อรอบๆข้อเท้า ซึ่งเส้นเอ็นเหล่านี้ทำหน้าที่ให้ความมั่นคงกับข้อเท้า เมื่อเส้นเอ็นมีการบาดเจ็บ จะส่งผลต่อความมั่นคงขณะยืน เดินได้
Reproduced from J Bernstein, ed: Musculoskeletal Medicine. Rosemont, IL, American Academy of Orthopaedic Surgeons, 2003.
ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บ แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 ข้อเท้าแพลงชนิดไม่รุนแรง ระดับนี้เส้นเอ็นถูกดึงหรือยืดมากเกินไปแต่ไม่มีการฉีกขาดของเส้นเอ็น พบอาการบวมและกดเจ็บบริเวณเส้นเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บ จำกัดการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย และสามารถเดินลงน้ำหนักได้
ระดับที่ 2 ข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรงปานกลาง พบมีการฉีกขาดของเส้นเอ็นบางส่วน ทำให้ข้อเท้ามีความมั่นคงลดลง ในกลุ่มนี้จะปวดและบวมค่อนข้างมากและอาจมีเลือดคั่ง จนอาจจะทำให้เดินลงน้ำหนักไม่ค่อยได้
ระดับที่ 3 ข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรงที่สุด จะมีการฉีกขาดของเอ็นทั้งหมด ทำให้ข้อเท้าสูญเสียความมั่นคง ในกลุ่มนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบวมมาก มีเลือดคั่ง และไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้
หลังจากอุบัติเหตุข้อเท้าพลิก หากมีอาการปวดมาก ไม่สามารถลงน้ำหนักที่เท้าได้ แนะนำให้พบแพทย์ แต่หากสามารถลงน้ำหนักได้ แนะนำการดูแลตนเองตามหลัง RICE คือการพักการใช้งาน ลดหรืองดการลงน้ำหนักที่เท้าข้างที่บาดเจ็บ โดยอาจใช้อุปกรณ์พยุงข้อเท้า หรือใช้อุปกรณ์ช่วยเดินเพื่อลดการลงน้ำหนักที่ข้อเท้า, การประคบเย็นเพื่อลดอาการปวดและบวม, การพันผ้ายืดเพื่อลดบวมและพยุงข้อเท้าขณะเคลื่อนไหว และการยกข้างที่บาดเจ็บสูงเพื่อช่วยการไหลเวียนเลือดกลับสู่หัวใจ จะช่วยลดอาการบวมได้ นอกจากนี้การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่งช่วยลดอาการอักเสบและกระตุ้นการซ่อมแซมเส้นเอ็นที่บาดเจ็บให้เร็วขึ้นด้วย
สำหรับไอแคร์คลินิกกายภาพบำบัดมีโปรแกรมสำหรับการรักษาโรคข้อเท้าแพลงด้วยเทคโนโลยีต่างๆจากต่างประเทศที่ช่วยลดอาการอักเสบ และกระตุ้นการซ่อมแซมเส้นเอ็นที่บาดเจ็บให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เช่น
- Targeted radiofrequency therapy การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเฉพาะจุด คลายกล้ามเนื้อ และช่วยการซ่อมแซมเส้นเอ็นที่บาดเจ็บ
- High power laser therapy การรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง ลดอาการบวม การอักเสบ
- Ultrasound therapy การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง ลดบวม ลดอักเสบ และกระตุ้นการซ่อมแซมเส้นเอ็นที่บาดเจ็บ
- Shockwave therapy การรักษาด้วยคลื่นกระแทกกระตุ้นการซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บเรื้อรังและลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อน่อง
- แนะนำวิธีการดูแลตนเองและการฝึกท่าออกกำลังกายเพื่อช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อรอบๆข้อเท้าและฝึกการรับรู้ของข้อต่อ (Joint Propioception)
“บทความนี้เป็นการประเมินเบื้องต้น ไม่สามารถนำมาอ้างอิงว่าเป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ แนะนำให้เข้ามาตรวจร่างกายอย่างละเอียดกับนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวด รวมถึงวางแผนการรักษาอย่างตรงจุด ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล”
หากคุณมีอาการเหล่านี้สามารถปรึกษาได้ที่ ไอแคร์คลินิกกายภาพบำบัด โทร 081-1231559 หรือ Line:@icareclinic