ปวดร้าวลงขาที่ไม่ใช่หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทแต่เป็นภาวะปวดข้อต่อกระเบนเหน็บ (Sacroiliac joint dysfunction)

            ในปัจจุบันคนวัยทำงานที่มักทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ได้ลุกขึ้นยืน หรือเปลี่ยนท่าทาง บางรายต้องนั่งพื้น หรือลักษณะกึ่งนั่งกึ่งนอน ลักษณะเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้เกิดความปวดตามมา เช่น ภาวะปวดคอบ่า ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ภาวะปวดหลังส่วนล่าง (low back pain)รวมไปถึงอาการปวดบริเวณกระดูกก้นกบ (coccyx) กระเบนเหน็บ (sacrum) และเนื้อเยื่อบริเวณอุ้งเชิงกราน (pelvic girdle) อาจเกิดการบาดเจ็บได้

            ซึ่งปัญหาหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดร้าวลงขาและชาปลายเท้า ได้แก่ การอักเสบของข้อกระเบนเหน็บโดยลักษณะของอาการปวดจะปวดคล้ายเข็มเสียดแทง ปวดแปล๊บๆหรือปวดร้าว ลงไปที่บริเวณก้นย้อย  ขา หรือปลายเท้า และอาการปวดมักจะแสดงอาการในขณะนั่ง  เดินขึ้นลงบันได หรือขณะที่เปลี่ยนท่าทาง

ที่มารูปภาพ https://altamtn.com/si-joint-dysfunction/

สาเหตุ

            สาเหตุมาจากความผิดปกติของข้อต่อบริเวณเชิงกราน ซึ่งเป็นข้อต่อที่เชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (sacrum) และกระดูกเชิงกราน (ilium) ซึ่งมีหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักตัว และส่งผ่านแรงจากลำตัวส่วนบน (upper body parts) ต่อไปยังเชิงกราน และรยางค์ส่วนล่าง (lower limbs) ซึ่งระหว่างข้อต่อจะมีเอ็นเชื่อมระหว่างกระดูกทั้งสองที่ช่วยส่งผ่านแรงต่าง ๆ เรียกว่า เอ็นก้นกบ (Sacrotuberous ligament) หากมีน้ำหนักตัวที่เพิ่ม ล้มกระแทก หรืออยู่ในท่าทางที่ผิดปกติจะทำให้เกิดการเสียดสีของข้อต่อบริเวณดังกล่าวจนเกิดอาการปวดขึ้นในขณะเคลื่อนไหวได้

อาการที่พบ

            ปวดตื้อ ๆ หรือแหลมเสียดแล้วบริเวณข้อต่อกระเบนเหน็บ

ปวดบริเวณหลังส่วนล่าง สะโพก ก้นกบ และร้าวลงปลายขา

            มักพบอาการในขณะนั่ง ก้ม หรือบิดตัวและปวดทันทีขณะเปลี่ยนท่า

            รู้สึกล้าและขาอ่อนแรง

การรักษาทางกายภาพบำบัด

            การรักษาทางกายภาพบำบัดสามารถลดปวดภาวะข้อต่อกระเบนเหน็บอักเสบได้โดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด และเสริมสร้างความแข็งแรงด้วยการออกกำลังกายกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (lumbar core stabilizer muscle) และกล้ามเนื้อสะโพก (gluteal muscle) เพี่อลดแรงกระทำต่อข้อต่อที่มากเกินไป ซึ่งไอแคร์คลินิกกายภาพบำบัด มีโปรแกรมสำหรับการรักษาภาวะข้อต่อกระเบนเหน็บอักเสบด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น 

  • Targeted radiofrequency therapy การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเฉพาะจุด คลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อและจุดเจ็บที่อยู่ในชั้นกล้ามเนื้อที่ลึกได้ดี
  • High power laser therapy การรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง ลดอาการอักเสบระคายเคืองของเส้นประสาทที่ถูกกดทับ
  • Shockwave therapy การรักษาด้วยคลื่นกระแทก กระตุ้นการซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บเรื้อรัง และทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อ
  • PMS หรือ Peripheral magnetic stimulation การักษาด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็ก ลดอาการชา ปวดร้าวตามเส้นประสาท

“บทความนี้เป็นการประเมินเบื้องต้น ไม่สามารถนำมาอ้างอิงว่าเป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ แนะนำให้เข้ามาตรวจร่างกายอย่างละเอียดกับนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวด รวมถึงวางแผนการรักษาอย่างตรงจุด ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล”

หากคุณมีอาการเหล่านี้สามารถปรึกษาได้ที่ ไอแคร์คลินิกกายภาพบำบัด โทร 081-1231559 หรือ Line:@icareclinic