บริการ:รองช้ำ (Plantar Fasciitis)

(Plantar fasciitis)

เลิกช้ำจากรองช้ำ

อาการ

– ปวดเหมือนมีของแหลมมาทิ่ม ที่บริเวณส้นเท้าด้านใน บางครั้งปวดร้าวไปตามแนวของพังผืดใต้ฝ่าเท้า

            – อาการปวดจะเป็นมากเมื่อเริ่มเดินช่วงก้าวแรกๆหลังตื่นนอน หรือหลังจากนั่งนานแล้วเริ่มลุกเดิน เมื่อเดินไปสักพักอาการปวดจะดีขึ้น แต่จะรู้สึกปวดมากขึ้นอีกเมื่อมีการยืน เดินเป็นเวลานานๆ

            – กรณีมีการอักเสบเฉียบพลัน จะพบอาการปวด บวม แดง และผิวหนังอุ่นบริเวณส้นเท้า

การรักษาทางกายภาพบำบัด

– กรณีที่มีอาการอักเสบเฉียบพลัน (ปวด บวม แดง ผิวหนังอุ่นกว่าบริเวณอื่น) แนะนำพักการใช้งาน, ประคบเย็นครั้ง 15 นาที (วันละ 2-3 รอบ) อาจร่วมกับการรับประทานยาลดปวด ลดอาการอักเสบ หากอาการปวดมากจนไม่สามารถเดินได้เลย แนะนำปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด

            – แนะนำควรสวมใส่รองเท้าพื้นนิ่มเมื่ออยู่บ้าน ไม่เดินเท้าเปล่า, การใส่อุปกรณ์เสริมอุ้งเท้าด้านใน, การปรับเปลี่ยนรองเท้าให้เหมาะสมกับรูปเท้า

            – กรณีเป็นเรื้อรังแพทย์อาจพิจารณาฉีดยาบริเวณจุดปวด

            – การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด สามารถทำได้ทั้งในกรณีที่มีอาการอักเสบเฉียบพลันและการอักเสบเรื้อรัง โดยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด และการแนะนำท่าออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อน่องและขา ร่วมกับท่าออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ขา และใต้ฝ่าเท้า

สำหรับไอแคร์คลินิกกายภาพบำบัด มีโปรแกรมสำหรับการรักษาโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบด้วยนวัตกรรมต่างๆ เช่น 

            – Targeted radiofrequency therapy การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเฉพาะจุด คลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อและจุดเจ็บที่อยู่ในชั้นกล้ามเนื้อที่ลึกได้ดี

            – High power laser therapy การรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง ลดอาการปวด บวม อักเสบ

            – Shockwave therapy การรักษาด้วยคลื่นกระแทก กระตุ้นการซ่อมแซมพังผืดฝ่าเท้าที่บาดเจ็บเรื้อรัง และทำให้เกิดการคลายตัวของพังผืดและกล้ามเนื้อ

“บทความนี้เป็นการประเมินเบื้องต้น ไม่สามารถนำมาอ้างอิงว่าเป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ แนะนำให้เข้ามาตรวจร่างกายอย่างละเอียดกับนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวด รวมถึงวางแผนการรักษาอย่างตรงจุด ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล”